ประวัติ ความเป็นมา ของ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย

  • พ.ศ. 2537 ปัจจุบัน เลขทะเบียนนิติบุคคล 0105558026170
    • รัฐบาลลงนามโครงการพัฒนาสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ ระหว่างไทย มาเลเซีย และอินโดนีเชีย[3]
  • พ.ศ. 2540
    • รัฐบาลเชิญชวนธนาคารต่างๆ ให้เปิดธนาคารแบบอิสลาม[4]
    • ธนาคารศรีนคร เปิดบริการธนาคารตามหลักศาสนาอิสลาม และปิดตัวลงเนื่องจากวิกฤติทางการเงิน[5]
  • พ.ศ. 2541
    • ธนาคารออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ เปิดบริการทางเงินตามหลักศาสนาอิสลาม โดยเน้นเปิดในชุมนุมที่มีชาวมุสลิมอยู่หนาแน่น เช่น จังหวัดชายแดนภาคใต้ และที่เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร เป็นต้น โดยเปิดเป็นแผนกหนึ่งในสาขาของธนาคาร[6]
  • พ.ศ. 2545
    • 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 ธนาคารกรุงไทย เปิดบริการทางการเงินตามหลักศาสนาอิสลามเต็มรูปแบบสาขาแรก ที่ถนนวิจิตรไชยบูลย์ จังหวัดนราธิวาส โดยเปิดเป็นสาขาแยกการบริหาร สำนักงาน สาขาเป็นเอกเทศ และเปิดเคาน์เตอร์แยกในสาขาปกติที่ธนาคารกรุงไทยสาขาตันหยงมัส สาขาตากใบ และสาขาสุไหงโกลก[7] [8]
    • 25 กันยายน พ.ศ. 2545 พ.ร.บ.ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ได้รับการอนุมัติจากสภาผู้แทนราษฎร[9]
  • พ.ศ. 2546
    • 12 มิถุนายน พ.ศ. 2546 ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย เปิดสาขาแรก ที่อาคารยูเอ็ม ทาวเวอร์ ถนนรามคำแหง[10]
    • 18 สิงหาคม พ.ศ. 2546 ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ได้เปิดทำการอย่างเป็นทางการ และจัดพิธีเปิดที่ศูนย์นิทรรศการและการประชุมนานาชาติกรุงเทพไบเทค[11] [12]
    • 15 ธันวาคม พ.ศ. 2546 ธนาคารกรุงไทย ได้เปิดสำนักงานใหญ่ บริการทางการเงินตามหลักชาริอะฮ์ (ธนาคารกรุงไทย ชาริอะฮ์) [13] ที่อาคารธญาณ ถนนพัฒนาการ
  • พ.ศ. 2548
    • 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 ธนาคารกรุงไทย ได้โอนบริการทางการเงินตามหลักชาริอะฮ์ (ธนาคารกรุงไทย ชาริอะฮ์) ทั้งหมด รวมทั้งสาขา 18 แห่งทั่วประเทศ ให้กับธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ตามนโยบายกระทรวงการคลัง[14] ทำให้ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย มีสาขาเพิ่มขึ้นเป็น 27 สาขาโดยทันที
  • พ.ศ. 2549
    • 18 สิงหาคม พ.ศ. 2549 ธนาคารได้ย้ายสำนักงานใหญ่มารวมที่ อาคารคิวเฮ้าส์ อโศก[15]
    • 6 พฤศจิกายน 2549 ธนาคารได้รวมระบบเข้าด้วยกัน โดยใช้ระบบของธนาคารกรุงไทย ซาริอะฮ์ แทนระบบเดิมทั้งหมด ลูกค้าฝั่งธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ต้องเปลี่ยนหมายเลขบัญชีทั้งหมด เปลี่ยนสมุดบัญชีใหม่ บัญชีเงินฝากเพื่อการลงทุน เปลี่ยนจากใบฝากกลายเป็นสมุดเงินฝาก และสามารถฝาก-ถอน ชำระสินเชื่อได้ทุกสาขาทั่วประเทศ[16]
  • พ.ศ. 2550
    • 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 ธนาคารได้เพิ่มทุนจาก 1,000 ล้านบาท เป็น 31,230 ล้านบาท โดยมีกระทรวงการคลัง ธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงไทย เป็นผู้ถือหุ้นหลัก รวม 98.183% ทำให้ธนาคารกลายเป็นรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงการคลัง โดยอัตโนมัตพ.ศ. 2552
    • 5 มีนาคม พ.ศ. 2552 ธนาคารเปิดตัวภาพลักษณ์ สัญลักษณ์ เครื่องแบบพนักงาน ชื่อย่อของธนาคารใหม่ ณ ห้องบอลรูม โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร[17]

ใกล้เคียง

ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารกรุงไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารทหารไทยธนชาต ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารไทยเครดิต ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

แหล่งที่มา

WikiPedia: ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/finance/... http://www.gotomanager.com/news/details.aspx?id=10... http://www.gotomanager.com/news/details.aspx?id=76... http://www.muslimthai.com/main/1428/content.php?pa... http://www.readyplanet.net/news/news.php?id=7531&n... http://board.dserver.org/m/muslimpsu/00000200.html http://www.ibank.co.th http://www.isbt.co.th http://www.isbt.co.th/th/about_ibt/history.htm http://www.isbt.co.th/th/about_ibt/resource/%E0%B8...